ตราสารหนี้ ตราสารทุน คืออะไร ต่างกันอย่างไร

ตราสารหนี้ ตราสารทุน คืออะไร

  1. ตราสารหนี้ (Bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ลงทุนจากจะได้รับสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ส่วนผู้ที่ออกตราสารนี้ขึ้นมาก็จะมีสถานะเป็น "ลูกหนี้" ผู้ที่ลงทุนในตารสารหนี้จะได้รับ "ดอกเบี้ย" เป็นผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้ใน และจะได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนดอายุ ตราสารหนี้ที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ หุ้นกู้บริษัทเอกชน ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล
  2. ตราสารทุน (Equity Instruments) คือ ตราสารทางการเงินที่กิจการหรือบริษัทออกขึ้นมาขายเพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสถานะเป็น "เจ้าของกิจการ" ตราสารทุนที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน ตราสารแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น เป็นต้น
  3. ตราสารหนี้ ตราสารทุน ต่างกันอย่างไร ตราสารหนี้ ผู้ถือจะมีสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ของกิจการหรือบริษัทที่ถือ แต่ตราทุนผู้ถือจะมีสถานะเป็น "เจ้าของกิจการ" ในกิจการหรือบริษัทที่ถือ

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ (Bond)

           คือตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้จะมีสถานะเปรียบเสมือน "เจ้าหนี้" และผู้ที่ออกตราสารหนี้จะมาสถานะเป็น "ลูกหนี้" หลักการก็เหมือนกับการเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ทั่วไปคือ เจ้าหนี้มีหน้าที่คือนำเงินมาให้ลูกหนี้ยืม ส่วนลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ตรงตามเวลาที่กำหนดและต้องคืนเงินต้นทั้งหมดให้ครบตอนสิ้นอายุของตราสาร
 
หน้าที่ของผู้ออกตราสารหนี้


หน้าที่ของผู้ถือตราสารหนี้

ตราสารหนี้ มีอะไรบ้าง

    ตราสารหนี้ภาครัฐ ซึ่งออกโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาล ได้แก่
  • พันธบัตรรัฐบาล
  • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ตั๋วเงินคลัง
  • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ         
  • ฯลฯ
   ตราสารหนี้ภาคเอกชน ออกโดยบริษัทหรือกิจการที่เป็นของเอกชน ได้แก่
  • หุ้นกู้
  • ตั๋วแลกเงิน
  • ตั๋วสัญญาใช้เงิน
  • บัตรฝากเงินแลกเปลี่ยนมือได้
  • ฯลฯ

ตราสารทุน


ตราสารทุน (Equity Instruments)          

           คือ ตราสารทางการเงินที่กิจการหรือบริษัทออกขึ้นมาขายให้กับประชาชนหรือนักลงทุนที่สนใจเพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ดำเนินธุรกิจต่อไป โดยผู้ที่ถือตราสารทุนจะมีสถานะเป็น "เจ้าของกิจการ" มีส่วนได้ส่วนเสียในผลกำไรและขาดทุนของกิจการตามจำนวนตราสารที่ถือครอง มีโอกาศได้กำไรจากเงินปันผล กำไรจากมูลค่าของตราสารที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการ แต่ก็สามารถขาดทุนจากมูลค่าของตราสารที่ลดลงได้เหมือนกัน โดยตราสารทุนสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
  • หุ้นสามัญ
  • หุ้นบุริมสิทธิ
  • ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น
  • หน่วยลงทุนกองทุนรวมตราสารทุน
  • ตราสารแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น
  • ฯลฯ

ภาพอธิบายระหว่างผู้ออกตราสารทุน กับผู้ถือตราสารทุน

ตราสารหนี้ ตราสารทุน ต่างกันอย่างไร

          ตราสารหนี้ ผู้ถือจะมีสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ของกิจการหรือบริษัทที่ถือ แต่ตราทุนผู้ถือจะมีสถานะเป็น "เจ้าของกิจการ" ในกิจการหรือบริษัทที่ถือ ส่วนในเรื่องของผลตอบแทนและความเสี่ยง ตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนที่น้อยแต่สม่ำเสมอ ส่วนตราสารทุนจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น มีโอกาศขาดทุนแต่ก็มีโอกาศได้รับกำไรเป็นกอบเป็นกำได้เหมือนกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการการดำเนินของบริษัททั้งสิ้น 


สรุปข้อแตกต่างระหว่าง ตราสารหนี้ ตราสารทุน

   ตราสารหนี้
  • ผู้ถือได้รับสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ผู้ออกตราสารเป็น "ลูกหนี้"
  • ได้รับผลตอบแทนในรูปของ "ดอกเบี้ย"
  • ได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของตราสาร
  • ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำแต่สม่ำเสมอ

   ตราสารทุน

  • ผู้ถือได้รับสถานะเป็น "เจ้าของกิจการ"
  • ได้รับผลตอบแทนในรูปของ เงินปันผล และส่วนต่างของราคาตราสาร ณ วันที่ขาย ซึ่งมีโอกาศขาดทุนได้เช่นกัน
  • ถ้าอยากได้เงินต้นคืนก็ต้องขายซึ่งอาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้
  • ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการ
=================

www.blogtradehoon.com

ผู้เขียน : Nickel_Bell

Facebook page : Blog Trade hoon

Blockdit page : Blog Trade hoon

=================


ความคิดเห็น